...ยินดีต้อนรับสู่ BLOGGER ของนางสาววราพร ภิรมย์สุข รหัส 544144051 คบ. 2 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3


บทที่ 3  การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน

ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร
               การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต  มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา  การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรง ชีวิตของมนุษย์  การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก   การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร  การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น   การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง   ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน                
ความหมายของการสื่อสาร 
           
 คำว่า  การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communis หมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   การสื่อสาร (communication)    หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้ (Learning) การ เรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2.
 การสอน (Instruction) หมาย ถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน1. สื่อ ( Medium หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication) มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่าง ผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า
      1      
 สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ (Format) แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ภาพยนตร์ มีทั้งขนาด 8 16 และ 35 มิลลิเมตร เทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียง และสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา (Verbal) เป็นต้น วัสดุ (Material s ) หมาย ถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน โสตทัศนวัสดุ (Audio visual Material s )หมาย ถึง วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ (หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
              
 สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
2.
 สาร (Messages) ใน กิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ ก็ตาม ย่อมมีสาร หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือ สื่อจะเป็นพาหะนำสาร
          ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
3.
 วิธีสอน วิธีสอน (Instructional Methods) โดยทั่วไป มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms) เช่น การบรรยาย และการอภิปราย เป็นต้น วิธีสอนกับสื่อการสอนไม่เหมือนกัน วิธีสอนเป็นลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียน หรือเนื้อหาสาระในการเรียน ส่วนสื่อเป็นเพียงพาหะนำสารหรือเนื้อหาความรู้ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ
การสื่อสารการสอนการสอน เป็นการจัดสภาพแวดล้อมและเนื้อหาความรู้ (
Information) เพื่อ เกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การส่งผ่านความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเป็นการสื่อสาร จากหลักการสื่อสารจะเห็นว่าการสื่อสารกับการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายคลึง กันมาก จนกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง 
          อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะลึกซึ้งกว่าการสื่อสาร การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการให้ข่าวสารความรู้ แต่การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารเฉพาะที่มีการออกแบบวางแผน (Designed)
 ให้ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอน การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการพื้นฐานในการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้
          การสอนเป็นการจัดการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนวิธีการแก้ไข เพื่อเป็นแนวคิดใน การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป
1.
 องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
          1)
 ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
          2)
 ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder) และ
          3)
 สาร (Messages)
2.
 กระบวนการสื่อสาร (Communication Process)
         
 กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ SM CR Model
3.
 ปัญหาการสื่อสาร
ความต่อเนื่องระหว่างรูปธรรมนามธรรม
            จำแนก และการบูรณาการ เป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ ดังนั้นการชี้แนะจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสอน และการสอนก็เป็นภารกิจสำคัญของครู ด้วยเหตุนี้ ครูจึงต้องเป็นบุคคลที่สามารถจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนได้อย่างเหมาะสมกับ ตัวผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดมุ่งหมายของการสอน
          
 กรวยประสบการณ์ของ เอดการ์ เดล (Edgar Dale)
            การสอนโดยทั่วไปควรเริ่มจากประสบการณ์ตรง ผ่านไปยังประสบการณ์จำลอง ( เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิและภาพยนตร์ ) ไปสู่สัญลักษณ์ ซึ่งการเรียนจากสื่อต่างๆ ทั้งหลายจะมีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การสอนควรควบคู่ไปกับการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจำแนก - บูรณาการ
            ดังนั้น ประสบการณ์รูปธรรมและ / หรือกึ่งรูปธรรม จะช่วยเกื้อหนุนการเรียนรู้และจดจำได้นาน ตลอดจนช่วยให้เข้าใจสัญลักษณ์หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น
            นอกจากสื่อการสอนจะให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียน แล้วสื่อการสอนยังช่วยให้ผู้เรียนได้บูรณาการประสบการณ์เดิมทั้งหลายเข้า ด้วยกันอีกด้วย ดังนั้นการจัดประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอย่างเหมาะสมในการเรียน การสอน จึงเป็นเหตุผลหรือหลักการสำคัญในการใช้สื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
 พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้
 1. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist Perspective) นัก จิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม หรือนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ เชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จุดเริ่มของการเรียนรู้จะอยู่ที่การรู้จักจำแนก (Differentiation) สิ่งต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันออกจากกัน และสามารถจัดไว้เป็นกลุ่มหรือพวก ประสบการณ์ในการรู้จำแนกจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิด (Concept) ในเรื่องนั้นๆ กระบวนการขั้นต่อไปก็คือ การนำแนวคิดเหล่านั้นมาบูรณาการ (Integration) เข้า ด้วยกัน เกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการ และทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นนามธรรมและสามารถเชื่อมโยงความรู้ ที่ได้นี้ไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในสิ่งอื่นๆ ต่อไป
2.
 การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
          1.
 แรงขับ (Drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน ซึ่งจะจูงใจผู้เรียนให้หาทางสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง
          2.
 สิ่งเร้า (Stimulu s) สิ่งเร้าอาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน (สื่อ) ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนอง
          3.
 การตอบสนอง (Response) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติ กรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา
          4.
 การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง
               สื่อ การสอนเปรียบเสมือนสิ่งเร้าเพื่อการเรียนรู้ ตัวอย่างสื่อการสอนที่ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม ชุดการสอนและนวกรรมการสอนประเภทต่างๆ
3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective )นักจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มปัญญานิยม(Cognitivist) ที่ เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิม (ประสบการณ์) มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยการแปลความหมาย (Interpretation) ข้อมูล และสารสนเทศที่มีอยู่รอบๆ ตัวด้วยตนเองดังนั้น จุดประสงค์การเรียนการสอนจึงไม่ใช่การสอนความรู้ แต่เป็นการสร้างสรรค์สถานการณ์ต่างๆ ที่ผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อความรู้ต่างๆ เพื่อความเข้าใจด้วยตัวของผู้เรียนเองดังนั้น การเรียนการสอนตามความเชื่อของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ก็คือ การชี้แนะแนวทางการเรียนเพื่อเกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียน การวัด และประเมินผลการเรียนจะอยู่บนพื้นฐานของความสามารถของผู้เรียนในการใช้ความ รู้เพื่อเกื้อหนุนการคิดในการดำรงชีวิตจริง
4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective ) จิตวิทยา สังคมเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่รู้จักกันมานานในการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการส อน นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น การเรียนแบบอิสระ การเรียนเป็นกลุ่มเล็ก หรือการเรียนรวมทั้งชั้น บทบาทสำคัญของการเรียนจะอยู่ที่ว่า ผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีผลดีกว่าการเรียนแบบแข่งขัน (Competitive Learning




            เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
เทคโนโลยี (Technology) คำว่า เทคโนโลยี อาจให้ความหมายได้ 3 ทัศนะ ดังนี้
           1)
 เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (Technology as a P recess)หมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆ ในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีระบบ
          2)
 เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นผลผลิต (Technology as P redact) หมายถึง เครื่องมือ (Hardware) และวัสดุ (Software) อัน เป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี ฟิล์มภาพยนตร์เป็นวัสดุ เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องมือ และต่างก็เป็นผลผลิตของเทคโนโลยี
          3)
 เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นทั้งกระบวนการและผลิตผล (Technology as a Mix of Process and Product) เป็นการกล่าวถึง เทคโนโลยีในแง่ (1) การใช้วิธีการ และเครื่องมือหรือวัสดุร่วมกันในเวลาเดียวกัน (2) การใช้เครื่องมือและวิธีการแยกจากกันในเวลาเดียวกัน เช่น เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับวัสดุ (Software หรือ Program) อย่างสัมพันธ์กัน

          การนำสื่อโสตทัศน์ทั้งหลายมาใช้ในการปรับปรุงการสื่อสารและการเรียนการสอน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลิตผลของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งไปกว่าการสื่อสาร เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นวิธีการหรือกระบวนการ (Technology as a P recess)
 จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ ทางการสอนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
            ดังนั้น เทคโนโลยีการสอนจึงหมายถึง  การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
            ดังนั้น  เทคโนโลยีการสอน จึงเป็นการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถจัดความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือการเรียนรู้ทั้งหลายให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          เทคโนโลยี การสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและก่อให้เกิดวิธีหรือ แนวปฏิบัติใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า นวกรรมการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Based Instruction : CB)
 การสอนโดยใช้ระบบเสียง (Audio-tutorial Systems) การสอนแบบโมดุล (Modular Instruction)เกมและสถานการณ์จำลอง (Game and Simulation) เป็น ต้น เทคโนโลยีการสอนบางลักษณะจึงเป็นการใช้สื่อโสตทัศน์และหรือเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งสิ่งพิมพ์ต่างๆ ร่วมกันในลักษณะของสื่อประสม (Miltie media) แต่ เทคโนโลยีการสอนจะมีลักษณะเฉพาะ ที่แตกต่างไปจากการใช้สื่อการเรียนการสอนแบบธรรมดา กล่าวคือ เทคโนโลยีการสอน จะเน้นผู้เรียนและกระบวนการเรียนการสอน และยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสำคัญ
          
 อาจจะกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีการสอนได้พัฒนามาจากทฤษฎีการเสริมแรง ซึ่งทฤษฎีการเสริมแรงนี้ จัดว่าเป็นทฤษฎีพื้นฐานที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามทฤษฎีอื่นๆ เช่นกลุ่มสัมพันธ์ จิตวิทยากลุ่มความรู้นิยม ทฤษฎีสารสนเทศ (Information Theory) และจิตวิทยาพัฒนาการ ต่างก็มีความสำคัญในการเกื้อหนุนให้เทคโนโลยีการสอนพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง
บทบาทของสื่อในการเรียนการสอน

            ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า สื่อและเทคโนโลยีการสอน สนับสนุนยุทธวิธีเบื้องต้นของการเรียนการสอนได้หลายประการ ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ใช้ สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครู การใช้สื่อลักษณะนี้เป็นวิธีที่เรารู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด โดยครูนำสื่อมาใช้เพื่อช่วยการสอน การใช้สื่อในลักษณะนี้จะช่วยให้การสอนสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ ความสามารถของครู ดังนั้น ถ้าครูจะนำสื่อมาใช้ช่วยในการสอน ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับหลักสูตร ระบบการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการใช้สื่อ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. สื่อ ช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติได้ เป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการ โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครู เช่น การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา การเรียนจากบทเรียนโปรแกรม ตลอดจนการฝึกปฏิบัติอื่นๆ และการทำแบบฝึกหัดหรือการค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นต้น
3. ช่วยการเรียนแบบค้นพบ สื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะ (Inquiry Approach) ได้ เป็นอย่างดี เช่น การใช้วิดีโอช่วยสอนวิทยา ศาสตร์กายภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเฝ้าสังเกตภาพและเนื้อหา จนสามารถค้นพบข้อสรุปหรือหลักการต่างๆ ได้
4. สื่อ ช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอน สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความ สัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ดังนั้น สื่อและเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้บอกความรู้ มาเป็นผู้จัดการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถ จัดรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน ปัญหาและสื่อต่างๆ ที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้นๆ เช่น 1) การสอนแบบเอกัตบุคคล 2) การสอนแบบกลุ่มเล็ก 3) การ สอนแบบกลุ่มใหญ่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด ครูก็สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้าช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นครูยังสามารถกำหนดเวลาและกิจกรรมการเรียนได้อย่างเหมาะสม ตามลักษณะของสื่อที่นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ
5. สื่อ/เทคโนโลยี ในการสอนแบบเอกัตบุคคล การสอนแบบเอกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบัน การสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครู โดยอาศัยระบบสื่อที่จัดขึ้นไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามจุดมุ่งหมายของการสอน
6. ช่วย การศึกษาพิเศษ สื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้เป็นอย่างดี เรียกว่าสื่อช่วยในการจัดการศึกษาพิเศษได้
7. สื่อ การสอนกับการศึกษานอกระบบ จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความรู้ทางวิชาการ สื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในหรือ นอกห้องเรียน ตลอดจนการศึกษาแบบทาง
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1.
 การเรียนรู้ (Learning) การ เรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2.
 การสอน (Instruction) หมาย ถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอนแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัสอีกความหมายหนึ่ง  การสื่อสาร (Communication) หมาย ถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
          องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
 
            1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
            2.
 ข้อมูลข่าวสาร (Message)
            3.
 สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
            4.
 ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
            5.
 ความเข้าใจและการตอบสนองเมื่อกล่าวถึงคำว่า  การศึกษา  เราหมายความถึงทั้ง การเรียน  การสอน  ทักษะเฉพาะ และสิ่งที่แม้จะจับต้องไม่ได้แต่เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง กล่าวคือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะการตัดสินที่ดี และภูมิปัญญา

            การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างชัดเจน เพราะว่า  การเรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสารอันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนการสอนต่างๆภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง
            จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน  คือ  การพยายามสร้างความเข้าใจทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนความสำเร็จของการเรียนการสอน พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ แต่ต้นตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครูคือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียวทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสต ทัศนูปกรณ์ มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคลคือ1. จับ ยึดประสบการณ์ เหตุการณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นสามารถใช้สื่อต่างๆ บันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพบันทึกเสียง การพิมพ์ ฯลฯ2. ดัด แปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้นเช่น การย่อส่วน ขยายส่วน ทำให้ช้าลง ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้ จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น3. ขยาย จ่ายแจก ทำสำเนา หรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย จึงช่วยให้ความรู้ต่างๆเข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน
ลักษณะของการสื่อสาร
 ประเภทของการสื่อสาร  แบ่งได้  4 ประเภทคือ
- การสื่อสารในตนเอง (intrapersonalor  selfcommunication)
- การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
- การสื่อสารแบบกลุ่มชน (group communication)
- การสื่อสารมวลชน (mass communication)
วัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้

     1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) 
 ในการทำการสื่อสาร  ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร  เรื่องราว  เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
             
     2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) 
 ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้  หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ  เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
    
 
    3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) 
 ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ  หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร  โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป  ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน  หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ

    4. 
 เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ  หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร  และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม  หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
  
     5. 
 เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร  ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้  เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำ การสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
 
      6. 
 เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide)  ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ  การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ  หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ  ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น
องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้ 
1. 
 ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่ มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความคิด  ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม   จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม    เช่น  ผู้พูด  ผู้เขียน กวี  ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ  โฆษกรัฐบาล  องค์การ  สถาบัน  สถานีวิทยุกระจายเสียง  สถานีวิทยุโทรทัศน์   กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์  หน่วยงานของรัฐ  บริษัท  สถาบันสื่อมวลชน  เป็นต้น



คุณสมบัติของผู้ส่งสาร

1. 
 เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ 

2. 
 เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี           

3. 
 เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ  ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร

4. 
 เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร 

5. 
 เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร  

2. 
 สาร (message) หมายถึง  เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ   ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ  ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้  เช่น  ข้อความที่พูด   ข้อความที่เขียน   บทเพลงที่ร้อง  รูปที่วาด  เรื่องราวที่อ่าน  ท่าทางที่สื่อความหมาย เป็นต้น

2.1 
 รหัสสาร (message code)ได้แก่ ภาษา สัญลักษณ์ หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ ความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกต่าง ๆ  

2.2 
 เนื้อหาของสาร  (message content) หมายถึง บรรดาความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน 

2.3 
 การจัดสาร (message treatment) หมาย ถึง การรวบรวมเนื้อหาของสาร แล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบ   เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหา ที่ต้องการด้วยการเลือก ใช้รหัสสารที่เหมาะสม 

3. 
 สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร  หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร  ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร   ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร   

4.  ผู้รับสาร (receiver)  หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร 
จากผู้ส่งสาร  
 และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร  หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร   เช่น   ผู้เข้าร่วมประชุม   ผู้ฟังรายการวิทยุ   กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย  ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์  เป็นต้น
หลักในการสื่อสาร

              การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตาม จุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร
1.  ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร 
2. 
 ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อ สาร 
3. 
 คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง  การอ้างอิงคล้ายกัน   ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
4. 
 การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง  ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน 
5. 
 ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง 
6. 
 คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการ 
สื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร
 
7. 
 คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
  1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)  ในการทำการสื่อสาร  ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร  เรื่องราว  เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
  2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) 
 ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้  หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ  เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
   3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) 
 ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ  หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร  โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป  ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน  หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
4.  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ  หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร  และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม  หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
 5.  เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร  การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร  ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้  เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำ การสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
 6. 
 เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide)  ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ  การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ  หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ  ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น 
    
อุปสรรคในการสื่อสาร

            อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร   อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1.            อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
             1.1  ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ 
             1.2 
 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม 
             1.3 
 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม 
             1.4 
 ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร 
             1.5 
 ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร 
             1.6 
 ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
2.  อุปสรรคที่เกิดจากสาร
2.1  สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป 
                                    2.2 
 สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน 
                        2.3 
 สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ 
                        2.4 
 สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
3.  อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
                 3.1  การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ 
                 3.2 
 การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี 
                 3.3 
 การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร 
4. 
 อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
                 4.1  ขาดความรู้ในสารที่จะรับ 
                 4.2 
 ขาดความพร้อมที่จะรับสาร 
                 4.3 
 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร 
                 4.4 
 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร 
                 4.5 
 ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป 
   ความสำคัญของการสื่อสาร 
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้ 
1. 
 การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ  ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร   ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน  การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา   พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร 

2. 
 การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม   ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม   ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี  สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง  วิถีชีวิตของผู้คน  ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 

3. 
 การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญ ก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ  
            วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
1.            เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
2.            เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3.            เพื่อลดเวลาการทำงาน
4.            เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
5.         เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
6.       เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
                 ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
 หมายถึงข้อความรู้ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆ หลายหลักการ
                 หลักการเรียนรู้ (Learning Principle)
 หมายถึงข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ หลักการเรียนรู้หลายๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้
                 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ (Teaching / Instruction Theory)
 คือความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ที่นักคิด นักจิตวิทยา หรือนักการศึกษาได้นำเสนอและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งว่าเป็นแนวคิดที่ น่าเชื่อถือด้วย เหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง 
                 ทฤษฎีการสอน (Teaching / Instruction Principle)
 คือ ข้อความรู้ที่ พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ซึ่งนักจิตวิทยา หรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงมาจากทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่งๆ มักประกอบไปด้วยหลักการสอนย่อยๆ หลายหลักการ
                 หลักการสอน (Teaching / Instruction)
 คือ ข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฎการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบและการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการสอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด หลักการสอนหลายๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการสอนได้ 
                 แนวคิดทางการสอน (Teaching / Instruction / Concept / Approach)
 คือ ความคิดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่พรรณา / อธิบาย / ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอนที่นักคิด นักจิตวิทยา หรือนักการศึกษา ได้นำเสนอ และได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งว่าเป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือด้วย เหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง 
                 ระบบการสอน / ระบบการเรียนการสอน (Teaching / Instruction / Model)
 คือแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี / หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนิน การสอนดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี / หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไป สู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนดซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผน หรือแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้ 
                 วิธีสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วย วิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะ เฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ เช่น วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย องค์ประกอบสำคัญของการบรรยาย คือ เนื้อหาสาระที่จะบรรยาย และการบรรยาย และขั้นตอนสำคัญคือ การเรียมเนื้อสาระ การบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย) และการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย ดังนั้นวิธีสอนโดยใช้การบรรยาย ก็คือกระบวนการหรือขั้นตอนที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย แล้วบรรยายก็คือพูด บอก เล่า อธิบาย เนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียนและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้ เรียนวิธีใดวิธีหนึ่ง
 
                 เทคนิคการสอน คือ กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใดๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการหรือการกระทำนั้นๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นเทคนิคการสอนหรือดำเนินการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในการบรยาย ผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่าง การใช้สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น
 
                 ทักษะการสอน คือ ความสามารถในการปฎิบัติการสอนด้านต่างๆ อย่างชำนาญซึ่ง ครอบคลุมการวางแผนการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน การใช้วิธิสอน เทคนิคการสอน รูปแบบการเรียนการสอน ระบบการสอน สื่อการสอน การประเมินผลการเรียนการสอน รวมทั้งการใช้ทฤษฎีและหลักการเรียนรู้และการสอนต่างๆ
 
                 นวัตกรรมการสอน คือ 
 สิ่งใหม่ที่ทำขึ้น ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ดังนั้น นวัตกรรมการสอนึงหมายถึงแนวคิด วิธีการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน หรืออาจเป้นสิ่งใหม่ในบริบทหนึ่งหรือช่วงเวลาหนึ่ง หรืออาจเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบ หรือได้รับการยอมรับนำไปใช้แล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายหรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ 
                 การวิจัยด้านการเรียนการสอน คือ การศึกษาหาคำตอบให้แก่ปัญหา หรือคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือ ตัวแปร ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอน และผลผลิตของการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น